วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ฉนวนกันความร้อนคือวัสดุที่สามารถกั้นไม่ให้ความร้อนถ่ายเทหรือส่งผ่าน

 ติดตั้ง พี.ยู.โฟม ( P.U.Foam )โดยช่างผู้ชำนาญงาน ระดับมือโปร คุณพิเชษฐ ธินนท์ 085-0824713
 ฉนวนกันความร้อน
คือวัสดุที่สามารถกั้นไม่ให้ความร้อนถ่ายเทหรือส่งผ่านจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งหรือด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งนั่นเอง ยิ่งทำให้ความร้อนผ่านได้ยากเท่าไหร่ก็ยิ่งถือว่าเป็นฉนวนป้องกันความร้อนที่ดีมีประสิทธ์ภาพมากเท่านั้น ซึ่งวัสดุพวกนี้ในท้องตลาดก็มีหลายชนิดหลายประเภท สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ และงบประมาณที่มี การติดตั้งฉนวนกันความร้อนนั้นหากมีงบประมาณเพียงพอ ควรติดตั้งทั้งที่ผนังและหลังคารวมทั้งฝ้าเพดาน ของทุกห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องที่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เพราะจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลงเป็นการประหยัดพลังงานด้วย หากมีงบประมาณปานกลาง ควรติดตั้งฉนวนที่หลังคา แล้วเลือกติดที่ผนังด้านที่ร้อนที่สุด 1-2 ด้าน โดยมากจะเป็นด้านที่โดนแดดมากๆ เช่น ทิศใต้ ทิศตะวันตก แต่ถ้าหากมีงบประมาณน้อย ควรเลือกติดที่หลังคา เพราะหลังคาจะได้รับความร้อนมากที่สุดเกือบตลอดเวลา หากท่านจำเป็นต้องใช้ฉนวนกันความร้อนจริงๆแล้วก็ ควรหางบประมาณสำหรับติดตั้งฉนวนกันความร้อน ที่หลังคาหรือฝ้าเพดานของชั้นบนสุด เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ้าเพดานร้อนและแผ่ความร้อนมาหาเรา และอย่าเผลอติดฉนวนในบ้านจนเต็มไปหมดจนไม่ยอมเจาะช่องเปิดประเภทหน้าต่างหรือบานเกล็ดระบาย อากาศร้อน เพราะฉนวนจะทำหน้าที่เพิ่มเติมให้กับบ้านเรา คือ กันไม่ให้ความร้อนออกไปจากบ้านด้วย ดังนั้นหากติดตั้งฉนวนในบ้านแล้ว ต้องยอมให้ลมพัดผ่านในบ้านได้ด้วยครับ ไม่ ว่าท่านจะปรับปรุงบ้านเก่าหรือสร้างบ้านใหม่ อย่าเสียดายงบประมาณในการติดตั้งฉนวนกันความร้อน เพราะฉนวนหลายอย่าง ไทยเราทำเองได้ และก็หาซื้อไม่ยาก และราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับในระยะยาว เราติดตั้งฉนวนกันความร้อนก็เพื่อป้องกันความร้อนไม่ให้เข้ามาในบ้าน ซึ่งเจ้าความร้อนนี้จะเข้ามาสู่ตัวบ้านของเราแทบจะทุกทิศทาง การติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ใต้หลังคาหรือฝ้าเพดานนั้นหากว่าในบ้านของท่าน ไม่มีฝ้าเพดาน เช่น ห้องแถว ตึกแถวที่มีหลังคาเป็นพื้นดาดฟ้า หรือแม้แต่ทาวเฮ้าส์หรือบ้านเดี่ยวที่หลังคาแบบว่าเงยหน้าขึ้นมองแล้วเห็น โครงหลังคาและแผ่นกระเบื้องเลย การติดตั้งก็พอที่จะทำเองได้ และก็ควรเลือกฉนวนที่เป็นแบบแผ่น เช่น ประเภทแผ่นโฟม ประเภทใยแก้ว หรือแบบเป็นม้วนก็ได้ โดยอาจต้องมีฝ้าเพดานปิดทับอีกทีเพื่อช่วยรับตัวฉนวนและเพื่อความสวยงาม หากว่าชาวคนรักบ้านมีงบประมาณเพียงพอก็ควรหาช่างมาติดตั้งให้ก็จะสะดวกกว่า สำหรับบ้านพักอาศัยที่มีฝ้าเพดานภายในห้อง ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ฝ้าเพดานแบบ ที-บาร์ (T-BAR)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน