วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ฉนวนป้องกันความร้อนโพลี่ยูรีเทนโฟม เป็นฉนวนอุตสาหกรรม

ฉนวนป้องกันความร้อนโพลี่ยูรีเทนโฟม เป็นฉนวนอุตสาหกรรม ที่อุตสาหกรรมขนาดเล็ก
และขนาดใหญ่ ในอุสาหกรรมต่างๆนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง เช่นหุ้มถังกันความเย็น
ออก(งานเย็น) หุ้มถังป้องกันความร้อนออก(งานร้อน) ป้องกันหยดน้ำทั้งแบบถัง ท่อ ห้องเย็น ป้องกันการควบแน่น รักษาอุณหภูมิให้คงที่ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ฉนวนกันความร้อน
พียูโฟม จึงเป็นฉนวนที่มีความคงทนแข็งแรงต่อสภาพอุณหภูมิ และดินฟ้าอากาศ ฉนวนพียูโฟม ได้ถูกพัฒนาจากอุตสาหกรรมมาเป็นฉนวนกันความร้อนให้กับหลังคาโรงงาน อาคารสำนักงานบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย เรือประมง งานที่ต้องการลดความร้อนต่างๆ อย่างกว้างขวาง

เมื่อท่านเลือกใช้ "พี.ยู.โฟม ฉนวนมหัศจรรย์" เสมือนว่าท่านมีฉนวนครบวงจรไว้ถึง 4 ชนิด อยู่ในมือท่าน
1) โพลียูรีเทนโฟม  เป็น  ฉนวนป้องกันความร้อน (Thermal Insulation)
2) โพลียูรีเทนโฟม  เป็น  ฉนวนป้องกันเสียง (Acoustical Resistance)
3) โพลียูรีเทนโฟม  เป็น  ฉนวนป้องกันความเย็น (Freezer Insulation)
4) โพลียูรีเทนโฟม  เป็น  ฉนวนป้องกันการรั่วซึม (Water Leeking)






              คุณสมบัติ ฉนวนกันความร้อน FOAMDEE PU FOAM โดยสังเขปดังนี้



1)รูปแบบทางกายภาพ(Physical Forms)


ขึ้นรูปตามวัสดุหรือชิ้นงานที่พ่น เช่นพ่นติดกับวัสดุที่เป็นกระเบื้อง ก็จะขึ้นลอนตามรูป
กระเบื้อง ถ้าอัดแบบตามรูปทรงที่กำหนดก็จะได้ตามความต้องการรูปแบบทางกายภาพ
ของฉนวนกันความร้อนมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานได้ตามต้องการเช่นฉนวนเบบคลุมห่ม
แบบแผ่น แบบพ่นแบบฉีด ฯลฯการเลือกใช้ฉนวนจะต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งาน
และตำแหน่งที่ติดตั้ง นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายความแข็งแรง
คงทนร่วมด้วยตัวอย่างการเลือกใช้งานฉนวนทีมีรูปแบบทางด้านกายภาพแตกต่างกันเช่น
ใช้ฉนวนโฟมชนิดพ่นสำหรับด้านบนหลังคาหรือผนังภายนอกหรืพ่นภายในอาคาร




2)ความแข็งแรงทางกล(Mechanical Strengh) ความหนาแน่น(Bulk Density)




ไม่ยุบตัวเมื่อมีแรงกดทับ มีความหนาแน่น 35-40 กก/ลบ.ม เป็นโฟมแข็งเรียกว่า ริจิดโฟม(Rigid Foam)
ไม่อุ้มน้ำเมื่อโดนฝน หรือหลังคารั่ว ไม่เสื่อมสลายในสารละลายทุกชนิด มีอายุการใช้งานที่ยาวนานเท่ากับอายุของหลังคา ความสามารถของฉนวนในการทนทานต่อแรงต่างๆหลายรูปแบบ ดังนี้
 การรับน้ำหนัก และแรงอัด
 ความต้านทานต่อแรงดึงและแรงเฉือน
ทนต่อการกระแทก และสั่นสะเทือน
ทนต่อการบิดงอ
ซึ่งความสามารถดังกล่าวของฉนวนจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ความหนาแน่น ขนาดของเซลล์
ขนาดและการจัดเรียงตัวของเส้นใยชนิดของฉนวน และปริมาณของตัวประสาน นอกจากนั้นยัง
ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมในการใช้งาน
3)อุณหภูมิการใช้งานที่เหมาะสม(Suitability For Service)
ผลของการเพิ่มหรือลดความหนาแน่นให้กับฉนวน ทำให้เชลล์ชิดกันหรือห่างกันนั้น เป็นผลทำให
้สภาพการนำความร้อนปรากฏจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเช่นกัน ดังนั้นฉนวนกันความร้อน-เย็น มีค่าความหนาแน่น
ที่เหมาะสมที่ดีค่าหนึ่งเท่านั้น คือ 35 กก./ลบ.ม เท่านั้นจึงมีน้ำหนักเบา ไม่สร้างปัญหาให้กับโครงสร้างแต่
อย่างใดมีค่าสภาพการนำความร้อนต่ำที่สุดและมีค่าต้านทานความร้อนสูงที่สุดเช่นกัน เนื่องจากฉนวนแต่
ละชนิดจะมีข้อจำกัดด้านอุณหภูมิในการใช้ง่านที่แตกต่างกันหากเลือกใช้ไม่เหมาะมัก
จะเกิดปัญหาการเสื่อมสภาพของฉนวนได้การแบ่งระดับของอุณหภูมิในการใช้งานของฉนวนทำได้
4)การขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน(Thermal Expansion)
เมื่อฉนวนกันความร้อนได้รับความร้อนหรือเย็น จะมีการขยายตัวและหดตัว(Flexible) ตามวัสดุชิ้นงาน
จะไม่มีการฉีกขาดเสียหาย เกิดขึ้น เมื่อหลังคาหรือคอนกรีตหดตัวหรือขยายตัว การขยายตัวเมื่อได้รับความร้อนของฉวน อาจทำให้ประสิทธิภาพของฉนวนเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการเลือกใช้ฉนวนจึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งอาจพิจารณาได้จากอุณหภูมิของการใช้งานที่เหมาะสมข้างต้น โดยใช้ฉนวนที่มีอุณหภูมิใช้งาน ตรงตามความต้องการเพื่อให้การใช้งานฉนวนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
5) สามารถในการต้านทานความร้อน(Thermal Resistivity)
ฉนวนป้องกันความร้อน พียูโฟม มีโครงสร้างเป็นเซลล์ปิด (Close Cell) มีความสามารถสะกัดกั้น ความร้อน
ได้มากกว่า 90% สามารถป้องกันความร้อน(Block Heat Transfer) จากภายนอก การส่งผ่านความร้อน
(Heat Transfer) จากหลังคาเข้าสูต้ว อาคาร ด้วยการนำ(Conducting) การพา(Convecting) และการแผง รังสีความร้อน(Radaiting)ได้เป็นอย่างดี ฉนวนป้องกันความต้องมีความสามารถในการต้านทาน ความร้อนดูได้จากค่าการต้านทานความร้อน (Thermal Resistance) โดยฉนวนที่มีค่าความต้านทานความร้อนสูง
จะกันความร้อนได้ดี เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของการใช้ฉนวนสำหรับอาคารในประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขต ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นคือการกันความร้อนจากภายนอกไม่ให้เข้ามาภายในอาคารซึ่งนอกจากจะทำให้อาคาร เย็นสบายแล้วยังเป็นการประหยัดพลังงานให้กับระบบปรับอากาศของอาคารที่มีการปรับอากาศอีกด้วย ตัวอย่างฉนวนที่กันความร้อนได้ดีมากเช่น โพลียูรีเทนโฟม โฟใพลีสไตรีน แต่ในการเลือกใช้ฉนนเพื่อป้องกัน
ความร้อนสำหรับอาคารจะต้องพิจารณาคุณสมบัติอื่นๆ ในการใช้งานร่วมด้วย
6)ความต้านทานต่อความชื้น (Resistance To Water Panetetion)
สามารถแยกความร้อนความเย็น ที่พื้นผิว จึงไม่เกิดการก่อตัวของไอน้ำอันเนื่องมาจากความชื้นในอากาศ
ไม่สามารถทะลุผ่านระหว่างฉนวนกันร้อนกับพื้นผิวได้ ความต้านทานความชื้น เป็นวัตถุประสงค์อีกข้อหนึ่งของการใช้ฉนวนสำหรับอาคารโดยเฉพาะอาคารที่มีการปรับอากาศ ดังนั้นจิง
จำเป็นต้องป้องกันความชื้นให้กับฉนวน แม้ว่า ที่ผ่านมาการใช้ฉนวนกันความชื้นให้กับอาคารอาจไม่ได้เป็น
วัตถุประสงค์หลักสำหรับวิศกรและสถาปนิก แต่จากผลการศึกษาสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ซึ่งมี
ความชื้นสูงเกือบตลอดเวลา พบว่าการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศจะสูญเสียคุณสมบัติความเป็นฉนวนไป
การใช้ฉนวนที่เหมาะสมสำหรับอาคารจึงสามารถ ช่วยป้องกันความชื้นให้กับอาคารได้ด้วย หากฉนวนที่ใช้ไม่มีการกันความชื้นควรป้องกันความชื้นให้กับฉนวนโดยการใช้วัสดุสำหรับกันความชื้น เช่น
แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ แผ่นโพลี่เอทิลีน แผ่นพีวีซี หรือแผ่นโพลีเอสเตอร์ ฉนวนมาสติก แอสฟัลต์ ฯลฯ ซึ่งวัสดุ
แต่ละชนิดมีคุณสมบัติกันความชื้นได้แตกต่างกัน
7)การกั้นไฟ และไม่ลามไฟ(Fire Retardant
ฉนวนกันความร้อน P.U.FOAM มีส่วนผสมของสารไม่ลามไฟ ไม่เป็นเชื้อไฟเมื่อโดนไฟเผา จะไหม้เฉพาะส่วน
เท่านั้น เมื่อมีไฟฟ้าลัดวงจรอันตรายจากไฟไหม้ เป็นข้อพิจารณาที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง สำหรับการใช้ฉนวน
ภายในอาคาร เพราะฉนวนที่กันความร้อนได้ดี อาจมีคุณสมบัติการกันไฟไม่ดี สำหรับบางส่วนของอาคาร
เช่นห้องครัวหรือห้องที่มีอุปกรณ์เกี่ยวกับความร้อน การกันไฟไหม้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังต้อง
พิจารณาว่าการเผาไหม้ของฉนวนก่อให้เกิดสารพิษมากน้อยขนาดไหน ฉนวนที่กันไฟได้ดีได้แก่ โฟมพียู ผสมสารไม่ลามไฟ ใยแก้ว ใยหิน ใยแร่ แคลเซียมซิลิเกตและเวอร์มิคูไลท์ เป็นต้น
8)ความต้านทานต่อเชื้อราและแมลง(Resistanc To Vermin&Fungus)
P.U.FOAM เป็นฉนวนป้องกันความร้อนที่ให้ความปลอดภัยต่อสุขภาพ เป็นฉนวนกันความร้อนที่สัตว์
และแมลงต่างๆ ไม่สามารถเข้าไปอาศัย หรือกัดกินได้ ความต้านทานต่อแมลงและเชื้อรา
และความปลอดภัยต่อสุขภาพ เป็นคุณสมบัติที่สำคัญซึ่งมักจะถูกมองข้ามไปในการเลือกใช้ฉนวน สภาพอากาศของประเทศไทยซึ่งมีความชื้นสูงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ ฉนวนเสื่อมสภาพได้ง่าย
ฉนวนที่มีความชื้นสูง นอกจากจะมีประสิทธิภาพความเป็นฉนวนต่ำลงแล้วยังเป็นแหล่งเจริญเติบโตของ
เชื้อรา ซึ่งเป็นอันตราย ต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยภายในอาคารอีกด้วย ฉนวนบางชนิดโดยเฉพาะฉนวน
พวกสารอินทรีย์เช่น เส้นใยเซลลูโลส เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของแมลงบางชนิด ดังนั้นจึงอาจเกิดการเสื่อมสภาพได้ง่ายหากมีแมลงรบกวน การแก้ปัญหาดังกล่าวทำได้ โดยการเลือก
ใช้ฉนวนที่มีความต้านทานต่อแมลงและเชื้อรา เช่น ฉนวนพวกสารอินทรีย์ได้แก่ แคลเชี่ยมซิลิเกต โฟม
ใยแร่ ใยคาร์บอน เป็นต้น หรืออาจมีการติดตั้งวัสดุเพื่อป้องกันแมลง ป้องกันความชื้น เช่น แผ่นกันความชื้นซึ่งทำจากวัสดุประเภทพลาสติก เป็นต้น
9)การกั้นเสียง(Acoustical Resistance)
ฉนวนกันร้อน ชนิดนี้มีโครงสร้างเป็นเชลล์ปิด สามารถสะกัดกั้น(Block) เสียงได้มากกว่า 70 เดซิเบล สามารถป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกเสียงดังที่เกิดจากภายใน เช่น ห้องเจนเนอเรเตอร์(Generator)
ห้องสตูดิโอ(Studio)โรงภาพยนต์(Cinema) ผับ (Pub) ดีสโก้เทค(Disco Thaqe)ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี
การป้องกันเสียง สำหรับบางส่วนของอาคาร ที่ต้องการลดการรบกวนจากเสียงเช่น ห้องนอน ห้องประชุม
ห้องสัมนา ฯลฯ จำเป็นต้องเลือกใช้ฉนวนที่มีช่องว่างอากาศมากเมี่อใช้ร่วมกับวัสดุที่มีน้ำหนักมากจะมีส่วน
ช่วยในการกันเสียงได้ดีขึ้นเช่น พียูโฟม ใยแก้ว เซลลูโลส ใยหิน เป็นต้น
10)การปลอดจากกลิ่น(Freedom From Ordour)
Foamdee P.U.Foam ไม่ซึมน้ำไม่อมน้ำ ไม่อุ้มน้ำ จึงไม่ก่อให้เกิดความชื้นซึ่งเป็นสาเหตุของ
กลิ่นอับที่ไม่พึงประสงค์ การปลอดจากกลิ่นเป็นข้อพิจารณาข้อหนึ่งที่สำคัญต่อการใช้งานฉนวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการใช้งานฉนวนที่ติดตั้งภายในอาคาร ฉนวนที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบ
หากเกิดการเสื่อมสภาพหรือเกิดการเผาไหม้ จะทำให้ผู้อยู่อาศัยภายในอาคารได้รับอันตรายการการ
สูดดมไอระเหย ของสารเคมี ในการเลือกใช้ ฉนวนจึงควรพิจารณาเลือกฉนวนที่มีส่วนประกอบที่
เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดอันตรายในขณะที่ใช้งาน เมื่อเกิดการเสื่อมสภาพและเกิดการเผาไหม้
11)ความต้านทานการกัดกร่อน ของสารเคมี(Corrosion&Chemecal Resistance)
P.U.Foam สามารถทนกรด ทนด่างได้ ไม่ละลายในเบนซิน ทินเนอร์ ดีเซล น้ำมันเครื่อง หรือสารละลายต่างๆ ความต้านทานต่อการกัดกร่อนและสารเคมีของฉนวนเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ต้องพิ
จารณาในการใช้งานการเสื่อมสภาพของฉนวนด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น สารเคมี และสภาพอากาศ ฯลฯ
จะทำให้ฉนวนมีประสิทธิภาพลดลง ดังนั้นฉนวนที่ดีควรมีความต้านทานต่อการเสื่อมสภาพ ดังกล่าว
ได้โดยพิจารณาถึงสภาพลดต่ำลง ในการใช้งานฉนวนว่าได้รับผลกระทบอย่างไรบ้างแล้วเลือก
ใช้งานฉนวนที่มีความคงทนต่อสภาพนั้น
12)ไม่มีสารพิษเจือปน(Non Toxic/Irrrant)
ฉนวนกันความร้อน โพลียูรีเทนโฟม ไม่มีส่วนผสมของใยหิน(Asbestos) ใยแก้ว(Fible Glass) หรือ
สารระคายเคืองอื่นๆ จึงไม่เกิดอาการแพ้ ผด ผื่น คัน เมื่อสัมผัส ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีส่วนผสม
ของสาร CFC11 ไม่มีสารก่อมะเร็ง
13)ประหยัดพลังงาน(Energy Saver)
ฉนวนป้องกันความร้อน POLYURETHANE FOAM หลังติดตั้ง จะประหยัดไฟได้มากกว่า 40% ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการรั่วซึมของหลังคา หรืออาคารร้าว เนื่องจากได้รับความร้อนและอายุการ
ใช้งานที่ยาวนาน
14) ป้องกันการรั่วซึม(Water Leaking)
พียู โฟม สามารถอุดรอยรั่วของหลังคาที่แตก หรือผนังคอนกรีตที่แตกร้าวได้ เพราะโครงสร้างเป็นเชลล์ปิด น้ำจะซึมผ่านไม่ได้ และไม่ก่อให้เกิดเชื้อโรค เชื้อราได้
15)ติดตั้งง่าย(Easy install)
ฉนวนกันความร้อน โพลียูรีเทน เมื่อพ่นจะเซ็ทตัวภายใน 3 วินาที สามารถพ่นติดกับฉนวนทุกอย่างได้
เป็นอย่างดี ติดตั้งได้ทั้งใต้หลังคาและบนหลังคา และผนังทุกชนิดเพื่อกันเสียงรบกวน การรั่ว ซึมของน้ำฝน และป้องกันความร้อน ที่ส่งผ่านมาจากหลังคา ผนังได้อย่างครบวงจร
16)การลงทุนที่คุ้มค่ากว่า(Worth For Investment)
ถ้านำเอาคุณสมบัติในด้านการนำความร้อน(Termal Conductivity) มาเปรียบเทียบในเชิงวิศวกรรมที่เท่ากัน จะพบว่าต้นทุนต่อหน่วย จะถูกกว่าฉนวนตัวอื่นๆ ทั้ง ด้านคุณสมบัติ และอายุการใช้งา เป็นฉนวนป้องกันความร้อนที่คุณสมบัติที่ครบถ้วนชนิดเดียวในประเทศ ที่สามารถ ป้องกันความร้อน
ป้องกันความเย็น ป้องกันการรั่วซึมของน้ำฝน ป้องกันเสียงดังจากฝนตก ในห้องสตูดิโอ ในโรงภาพยนต์
ในดิสโก้เทค ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน