มารู้จักฟอยล์ FOILกันความร้อนกันเถอะ
การเลือกใช้ฉนวนประเภทต่างๆ จะต้องคำนึงถึงความสามารถสกัดกั้นความร้อนให้กับอาคาร จากการศึกษาพบว่าการใช้ฟอยล์เพียงชั้นเดียวไม่เพียงพอสำหรับกันความร้อนจากหลังคา ต้องมีฟอยล์ไม่น้อยกว่า 3-4 ชั้น โดยแต่ละชั้นจะมีช่องอากาศ(Air Gab)ไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว และต้องมีการป้องกันการรั่วซึมได้ดีด้วย แต่มีข้อแม้ว่าผิวของแผ่นฟอยล์จะต้องมีลักษณะมันเงาอยู่ตลอดเวลาเพราะถ้าฟอยสกปรกจากฝุ่นละอองก็จะสูญเสียค่าของการสะท้อนรังสีความร้อนไปทันที แต่ถ้าฝุ่นจับจนหนาทึบ ก็จะไม่สามารถทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนได้อีกต่อไปนิยมใช้ในยุโรปและอเมริกา ตอนนี้เอเชียเราก็เริ่มติดตั้งมากขึ้นเรื่อยๆแล้วซึ่งคุ้มค่า.
ความหมายของฉนวน ฉนวน โดยทั่วไปหมายถึง วัสดุที่มีความสามารถในการสกัดกั้นความร้อนไม่ให้ส่งผ่านจากด้านใดด้านหนึ่ง ไปยังอีกด้านหนึ่ง การส่งผ่านความร้อนจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งของวัสดุใดๆ หรือ การถ่ายเทความร้อน ( Heat Transfer ) ระหว่างวัตถุสามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออุณหภูมิทั้ง 2 ความแตกต่างกัน ซึ่งลักษณะการถ่ายเทความร้อนนั้นมี 3 วิธี โดยอาจเกิดขึ้นจากวิธีหนึ่งหรือหลายๆวิธีพร้อมกัน ได้แก่ การนำความร้อน ( Conduction ) การพาความร้อน ( Convection ) และการแผ่รังสีความร้อน ( Radiation ) ประเภทของฉนวนกันความร้อน การจำแนกประเภทของฉนวนกันความร้อนสามารถทำได้หลายวิธี วิธีการหนึ่งที่แบ่งฉนวน กันความร้อน ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ 1. ฉนวนมวลสาร 2.ฉนวนสะท้อนความร้อน นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งประเภทของฉนวนตามชนิดของวัสดุพื้นฐาน ที่ใช้ในการผลิตได้อีก 4 ประเภท ดังนี้ 1. วัสดุประเภทใยแร่ ( Mineral Fibrous Material ) เช่น ใยหิน ขี้โลหะที่ได้จากการถลุงโลหะ และใยแก้ว 2. วัสดุประเภทเส้นใยธรรมชาติ ( Organic Fibrous Material ) เช่น ไม้ ชานอ้อย ฝ้าย ขนสัตว์ เส้นใยเซลลูโลส และใยสังเคราะห์ 3. วัสดุประเภทเซลล์ธรรมชาติ (Organic Cellular Material ) เช่น ไม้ก๊อก โฟมยางโพลีสไตลีน และโพลียูรีเทน 4. วัสดุประเภทแร่ (Mine Fibrous Material ) เช่น แคลเซี่ยมซิลิเกต เพอร์ไลท์ เวอร์มิคูไลท์ และ โฟมคอนกรีต ฉนวนที่พบการใช้งานทั่วไป เนื่อง จากในปัจจุบันได้มีการผลิตฉนวนกันความร้อนในหลายรูปแบบขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานประเภทต่างๆ เป็นจำนวนมาก แต่จะมีฉนวนที่มักใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ดังนี้ 1. ใยแก้ว (Glass Fiber) 2. ใยแร่ (Mineral Fiber) 3. ใยเซลลูโลส (Cellulose) 4. โฟม (Foam) 5. แคลเซียมซิลิเกต (Calcium Sililcate) 6. เวอร์มิคคูไลท์ (Vermicculite) 7. ฟอยล์ (Foil) 8. ใยหิน (Rock wool) ใยเซลล์ลูโลส ( Cellules ) ( บริษัทมีให้บริการ ) ใยเซลล์ลูโลสเป็นฉนวนกันความร้อนที่ผลิตขึ้นจากการนำไม้ หรือกระดาษที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ( Recycle ) โดยการแผ่และดึงให้กระจายออกทำการย่อยจนละเอียด จากนั้นทำการประสานเข้าด้วยกันด้วยบอแร็กซ์ ส่วนผสมทั้งสองอย่างนี้จะช่วยให้มีสภาพต้านทานการลุกไหม้และการดูดซับความ ชื้น การประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ เช่น ฉนวนแบบแผ่นแบบคลุมห่ม ( สถานที่มักใช้งาน ห้องประชุม ห้องอาหาร ห้องคาราโอเกะ ผับ ฯลฯ ) โฟม ( Foam ) ( บริษัทมีให้บริการ ) P.U.FOAM (Polyurethane Foam) โพลียูรีเทนโฟม เป็นสาร HCFC-141b พ่นให้เป็นโฟม โดยมีทั้งหล่อเป็นแบบแข็งแบบ ฉีดขึ้นรูป หรือพ่นบนพื้นผิวเป็นโฟมแข็ง (Rigid Foam) มีความแข็งแรง มีสภาพการนำความร้อน(K) ต่ำของโฟมชนิดนี้ต่ำมาก เนื่องจากภายในเป็นสาร HCFC-141b ซึ่ง มีสภาพการนำความร้อนที่ต่ำกว่าอากาศในการผลิตฉนวนป้องกันความร้อนเพื่อการ ใช้งาน โดยมากต้องมีการหุ้มด้วยวัสดุที่หน่วงการไหม้ไฟ แต่พียูโฟมจะผสมสารไม่ลามไฟในตัวของมันเองโฟม โพลียูรีเทน เป็นฉนวนประเภทเชลล์ปิด(Close Cell) จึงสามารถป้องกันความชื้นในห้องเย็นหรือหลังคารั่วได้ดีกว่า รูปแบบทางกายภาพ (Physical Forms) ขึ้น รูปตามวัสดุหรือชิ้นงานที่พ่น เช่นพ่นติดกับวัสดุที่เป็นกระเบื้อง ก็จะขึ้นลอนตามรูปกระเบื้อง ถ้าอัดแบบตามรูปทรงที่กำหนด ก็จะได้ตามความต้องการรูปแบบทางกายภาพของฉนวนกันความร้อนมีหลายรูปแบบให้ เลือกใช้งานได้ตามต้องการ เช่น ฉนวนแบบคลุมห่ม แบบแผ่น แบบพ่นแบบฉีด ฯลฯการเลือกใช้ฉนวนจะต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งานและตำแหน่งที่ติดตั้ง นอกจากนั้น ยังต้องพิจารณาปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย ความแข็งแรงคงทนร่วมด้วย ตัวอย่างการเลือกใช้งานฉนวนที่มีรูปแบบทางด้านกายภาพแตกต่างกัน เช่น ใช้ฉนวนโฟมชนิดพ่นสำหรับด้านบนหลังคาหรือผนังภายนอกหรือพ่นภายในอาคาร การกันและไม่ลามไฟ (Fire Retardant) ฉนวนกันความร้อน P.U.FOAM มี ส่วนผสมของสารไม่ลามไฟ ไม่เป็นเชื้อไฟ เมื่อโดนไฟเผา จะไหม้เฉพาะส่วนเท่านั้น เมื่อมีไฟฟ้าลัดวงจร อันตรายจากไฟไหม้ เป็นข้อพิจารณาที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง สำหรับการใช้ฉนวนภายในอาคาร เพราะฉนวนที่กันความร้อนได้ดี อาจมีคุณสมบัติการกันไฟไม่ดี สำหรับบางส่วนของอาคาร เช่นห้องครัวหรือห้องที่มีอุปกรณ์เกี่ยวกับความร้อน การกันไฟไหม้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังต้อง พิจารณาว่าการเผาไหม้ของฉนวนก่อให้เกิดสารพิษมากน้อยขนาดไหน ฉนวนที่กันไฟได้ดีได้แก่ โฟมพียู ผสมสารไม่ลามไฟ ใยแก้ว ใยหิน ใยแร่ แคลเซียมซิลิเกต และเวอร์มิคูไลท์ เป็นต้น ความแข็งแรงทางกล (Mechanical Strengh) ความหนาแน่น (Bulk Density)
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน